วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หลักการพัฒนาระบบ โดย ณัฏฐ์ชยธร

หลักการพัฒนาระบบ

ความหมายของระบบ
คำว่า ระบบ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Systems ซึ่งสามารถสรุปความหมายได้ว่า เป็นการจัดกลุ่มองค์ประกอบต่างๆ ที่แบ่งแยกไว้ ซึ่งมีการทำงานร่วมกันมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยขึ้นต่อกัน มีความหมายเป็นอันเดียวกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามที่ต้องการ ระบบที่สมบูรณ์จะต้องบรรลุถึงหลักเฏณฑ์คือเป้าหมาย(Goals) และวัตถุประสงค์(Ojectives) ทรัพยากรและกระบวนการ ( Kesiser, DeMicco and Grimes, 2000 : 71)
องค์ประกอบของระบบ
องค์ประกอบของระบบ สามารถสรุปได้ดังนี้ ( Kesiser,DeMicco and Grimes, 2000 :74)
องค์ประกอบของระบบที่สำคัญของระบบมี 5 ประการ คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ข้อมูลป้อนกลับและสภาพแวดล้อม ข้อจำกัดทางด้านภาพแวดล้อม

การพัฒนาระบบของ Kesiser เป็นกระบวนการพัฒนาเพื่อให้เกิดคุณภาพซึ่งกระบวนการจะต้องเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานหลายฝ่ายและพัฒนาระบบตามวงจรการพัฒนาระบบ ได้แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนคือ (Kesiser, DeMicco and Grimes, 2000 :74 ; Little John, 2001)
1. ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้และการวางแผน เป้าหมายของการศึกษา เพื่อระบุปัญหาและพิจารณาถึงการแก้ปัญหาโดยมองถึงเป้าหมาย ปัญหาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ของระบบในการตรวจสอบความเป็นไปได้ที่ดีที่สุด หากมีความเป็นไปได้ก็จะมีการกำหนด การทำงานที่มีรายละเอียดของการทำงานสำหรับเริ่มต้น
2. ข้อตอนการวิเคราะห์ จะเริ่มโครงการหลังโครงการอนุมัติ โดยดูกระบวนการทำงานทั้งระบบ สถานที่ รายละเอียดทางเทคนิคจะกำหนดการทำงานเป็นส่วนๆ พิจารณาจากผู้ใช้งาน ระบบส่วนย่อยต่างๆ การไหลผ่านของข้องมูล ทั้งหมดจะถูกแสดงให้เห็นเป็นความสัมพันธ์ประกอบการพิจารณา
3. ขั้นการออกแบบ ในการออกแบบระบบนั้น จะแสดงรายละเอียดการทำงานทั้งระบบโดยปรับปรุงจากขั้นวิเคราะห์ระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงจากการนำข้อมูลเข้ามีการบันทึกข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล สร้างเป็นระบบที่จะนำเสนอให้กับผู้ใช้งาน เพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการเรียกว่า Prototype หรือ Mockup of the Proposed System
4. ขั้นการดำเนินงาน ประกอบด้วยการติดตั้งระบบและเปลี่ยนระบบจากระบบเดิม เป็นระบบใหม่ ที่ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งรวมไปถึง การอบรมผู้ใช้งาน การปรับเปลี่ยนทัศนคติในกรณีที่มี การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจากบุคลากรในองค์การ
5. ขั้นการนำไปใช้ มีการพัฒนาระบบ การติดตั้ง ทดลองระบบ การฝึกอบรมและการแนะนำแก่ผู้เริ่มต้นใช้ระบบ อาจเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมาจากหลายสาเหตุเพื่อเข้าสู่ที่ใหม่ขึ้น เช่น เปลี่ยนวิธีการ มีข้อมูลเพิ่มขึ้น ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สิ่งที่จะช่วยในการบำรุงรักษาดูแลระบบ ดีที่สุดคือ การใช้หรือ การจัดทำที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการจัดทำเอกสารประกอบการใช้งานตามระบบที่ได้พัฒนาขึ้นและสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ในอนาคต
6. ขั้นการประเมินผล เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อพิจารณาภารกิจหลังจากการทดลอง ใช้ระบบ ระบุข้อผิดพลาดและปรับปรุงให้ดีขึ้น การสังเกตการณ์การทำงานของระบบ เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบว่า มีประสิทธิภาพเพิ่มขี้น ซึ่งเป็นการยากในการที่จะบอกว่า ระบบดี หรือไม่ดี เนื่องจากมีหลายมิติเข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ใช้งานหรือผู้บริหาร นิสิตนักศึกษา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและความคุ้มค่าของระบบ
อย่างไรก็ดี การพัฒนาวงจรระบบที่ดี จะมีการเตรียมภารกิจที่จะต้องกระทำ เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การพัฒนาระบบ ซึ่งมีขั้นตอนการพัฒนา 7 ขั้นคือ (http: //WWW.geocities.com./SDLC_new.html )
1. การเข้าใจปัญหา (Problem Recognition) เป็นขั้นตอนที่ผู้บริหารหรือผู้ใช้ตระหนักถึงปัญหาว่าใช้มานาน การสร้างระบบใหม่ ควรมีการศึกษาถึงความต้องการในการใช้ระบบ
2. ขั้นการศึกษาความเป็นไปได้ (Fessibility Study) จุดประสงค์การศึกษาความเป็นไปได้ คือการกำหนดว่า ปัญหาคืออะไรและความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปลี่ยนแปลงและตัดสินใจว่าการพัฒนาจากเดิมมี ค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ อีกทั้งได้ผลเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ ที่สำคัญที่สุดผลประโยชน์ เช่น เมื่อนำระบบใหม่มาใช้อาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายบุคคลากรลดลงหรือกำไรเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์เป็นการรายงานความเป็นไปได้ เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบและคาดคะเนความต้องการของระบบ บุคลากรและหน้าที่ความรับผิดชอบ ผู้ใช้มีบทบาทสำคัญ ในการศึกษาข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดเกี่ยวกับปัญหา ขั้นการวางแผน พิจารณาถึงความต้องการ การจัดลำดับก่อนหลังของความจำเป็น การกำหนดทรัพยากรที่สนับสนุน เช่น งบประมาณ บุคลากรและเครื่องมือ พร้อมทั้งมีการกำหนดทีมงานในการพัฒนาโครงการ
3. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis ) การวิเคราะห์ระบบซึ่งเป็นการเริ่มตั้งแต่การศึกษา การทำงานว่าทำงานอย่างไร การออกแบบระบบใหม่ต้องทราบว่าระบบเดิมทำงานอย่างไร ต้องรู้ว่า ระบบเดิมทำงานอย่างไรวิเคราะห์ภารกิจ ศึกษาว่าระบบทำงานได้อย่างไร สามารถสนองตอบ ต่อความต้องการของผู้ใช้ ศึกษาความเป็นไปได้ในการที่จะใช้ระบบเพื่อแก้ปัญหา ต้องใช้เทคนิคต่างๆ รวมทั้งเอกสารที่มีอยู่ เช่น คู่มือการใช้งาน เอกสารต่างๆ ผลลัพธ์คือ รายงานข้อมูลเฉพาะของปัญหา เครื่องมือเป็นเทคนิคการเก็บรวบรวม Data Dictionary, Data flow Diagram, Process Specification, Data Model, Prototype, System Flowcharts พร้อมด้วยบุคลากรและหน้าที่รับผิดชอบคือ ผู้ใช้จะต้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการพัฒนา
4. ขั้นการออกแบบ (Design) ในการออกแบบระบบใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้ใช้และผู้บริหาร การออกแบบระบบจะนำการตัดสินใจของฝ่ายบริหารที่ได้ จากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบออกเป็นแผนภาพ เขียนขั้นตอนเป็นแผนภาพลำดับขั้น เพื่อให้มองภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร การเชื่อมต่อตามโครงสร้าง การออกแบบจะต้องมีข้อมูลขาเข้า ออกแบบรายงานหรือ ฟอร์มต่างๆ ตาม เครื่องมือประกอบด้วยและข้อมูล Data Dictionary, Data flow Diagram, Process Specification, Data Model, Prototype, System Flowcharts ผลลัพธ์คือ ข้อมูลเฉพาะของการออกแบบ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ เครื่องมือและการพัฒนารายละเอียดทั้งหมดของระบบ
5. ขั้นการสร้างหรือพัฒนาระบบ (Construction) จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ได้ออกแบบไว้ มีการทดสอบระบบ เมื่อเสร็จแล้วและมีการทดสอบระบบใหม่เมื่อผ่านผลลัพธ์ที่ได้คือคู่มือการใช้ การฝึกอบรมและการให้คำแนะนำแก่ผู้เริ่มต้นใช้ระบบ วิธีการทดสอบ การเขียนเอกสารประกอบการใช้งาน ทุกขั้นตอนของการพัฒนาระบบมีการวางแผนและผู้ใช้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ระบบสามารถทำงานตามความต้องการ ต่อจากนั้นต้องเขียนคู่มือการใช้งานและมีการฝึกอบรมผู้เกี่ยวข้องต่อไป
6. การปรับเปลี่ยน (Conversion) เป็นขั้นตอนที่นำระบบใหม่มาใช้แทนระบบเก่า การป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบต้องมีความสมบูรณ์ จึงสามารถเริ่มต้นระบบใหม่ได้
7. การบำรุงรักษาหรือการประเมินผล (Maintenance ) เป็นการแก้ไขปรับปรุงหลังจากการใช้งานแล้ว ต้องเข้าใจปัญหาและ ศึกษาสิ่งที่จะต้องแก้ไข สาเหตุของการแก้ไขต้องมี การประเมินผลการใช้งาน เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น การแก้ไขควรที่ผู้บริหารชี้ให้เห็นถึงความต้องการ และตัดสินใจ เนื่องจากต้องศึกษาถึงผลกระทบต่อระบบ จึงตัดสินใจว่า จะแก้ไขหรือไม่ กำหนดปัญหา วิเคราะห์ ประเมินผล ออกแบบ การนำไปใช้

แบบสอบถามวิจัยในชั้นเรียน

แบบสอบถามเลขที่…………แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
เรื่อง
การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูใน............................ระบุ (หน่วยงานของท่านที่ต้องการทำวิจัย)

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย Pลงใน r หน้าคำตอบที่ตรงกับท่านตามความเป็นจริง หรือ
เติมคำลงในช่องว่างที่ตรงกับตัวท่าน

1. เพศ
r 1. ชาย r 2. หญิง

2. อายุ.....................ปี (นับอายุเต็มปี)

3. อายุราชการ..................ปี

4. วุฒิการศึกษาสูงสุด
r 1. ปริญญาตรี r 2. ปริญญาโท r 3. ปริญญาเอก
r 4. อื่น ๆ โปรดระบุ...........................................

5. ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน
r 1. ครู r 2. ครูชำนาญการ r 3.ครูชำนาญการพิเศษ
r 4. ครูเชี่ยวชาญ r 5. ครูเชี่ยวชาญพิเศษ r 6. อาจารย์พิเศษ

6. แผนกวิชาที่ท่านสังกัด
r แผนกวิชาเครื่องกล r แผนกวิชาการก่อสร้าง r แผนกวิชาการบัญชี
r แผนกวิชาเครื่องมือกล r แผนกวิชาโยธา r แผนกวิชาเลขานุการ
r แผนกวิชาเทคนิคการผลิต r แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง r แผนกวิชาการตลาด
r แผนกวิชาโลหะการ r แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ r แผนกวิชาคอมฯ
r แผนกวิชาเทคนิคโลหะ r แผนกวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม r พณิชยการ
r แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์

7. ท่านเคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนหรือไม่
r 1. เคย r 2. ไม่เคย

8. จำนวนงานวิจัยในชั้นเรียนที่ท่านเคยทำมาแล้ว...............เรื่อง (ระบุจำนวนชิ้นงานวิจัยชั้นเรียน) หรือ r ไม่เคยทำงานวิจัย

9. หน้าที่ที่ท่านได้รับมอบหมายจากผู้บริหารสถาบันการศึกษานอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่งานสอนตามปกติ (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
r 1. งานการเงิน r 2. งานวิชาการ r 3. งานประกันคุณภาพการศึกษา
r 4. งานวิจัย r 5. งานอาคารสถานที่ r 6. งานปกครอง
r 7. งานธุรการ r 8. งานกิจการนักศึกษา r 9. อื่น ๆ โปรดระบุ......................................
ตอนที่ 2 ทัศนคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย P ลงในช่องว่างที่ตรงกับความคิดเห็นในเรื่องการทำ
วิจัยในชั้นเรียนของท่านมากที่สุด
เกณฑ์การให้คะแนน
5 หมายถึง เห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อความนั้น ๆ
4 หมายถึง เห็นด้วยกับข้อความนั้น ๆ
3 หมายถึง ไม่แน่ใจกับข้อความนั้น ๆ
2 หมายถึง ไม่เห็นด้วยกับข้อความนั้น ๆ
1 หมายถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อความนั้น ๆ
ทัศนคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน
ระดับความคิดเห็น
5
4
3
2
1
1.ชีวิตครูยุคใหม่คือการทำวิจัย






2. การวิจัยในชั้นเรียนคือกระบวนการแก้ปัญหาที่พบจากการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน





3. การวิจัย ฯ ช่วยให้การพัฒนาปัญหาของครูเป็นไปอย่างน่าเชื่อถือ





4. การวิจัย ฯ สามารถพัฒนานักศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ





5. การทำวิจัย ฯ เหมือนกับการทำวิจัยทั่วไป






6. การทำวิจัยฯ ไม่เพิ่มเวลาในการทำงานให้กับครู






7. การทำวิจัย ฯ คือเส้นทางสู่คุณภาพของการพัฒนาอาชีวศึกษา





8. การวิจัย ฯ จะทำให้ครูทำงานอย่างมืออาชีพ






9. บทบาทสำคัญของครูอย่างหนึ่งคือ การเป็นครูในฐานะนักวิจัย





10. การมีทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนจะเป็นพื้นฐานสู่การวิจัยขั้นสูงต่อไปได้





ตอนที่ 3 สภาพปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนและความคาดหวังต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย P ลงในช่องว่างที่ตรงกับการทำวิจัยในชั้นเรียนและ
ความคาดหวังต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของท่านมากที่สุด
การทำวิจัยในชั้นเรียน
สภาพปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียน

ความคาดหวังในการทำวิจัย
มากที่สุด
มาก
น้อย
ไม่มีปัญหา

มากที่สุด
มาก
น้อย
ไม่ต้องการพัฒนา
ขั้นที่ 1 การกำหนดประเด็นของการแก้ไขปัญหา









หรือการพัฒนา









1. กำหนดประเด็นปัญหาเพื่อการวิจัยถูกต้อง









2. จัดลำดับความสำคัญของปัญหาถูกต้อง









3. รวบรวมข้อมูลเพื่อหาคำตอบการวิจัยในเบื้องต้นอย่างเป็นระบบ









4. เขียนชื่อเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนอย่างถูกต้อง









5. เขียนความสำคัญของปัญหาการวิจัยได้อย่างถูกต้อง









ขั้นที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการวิจัย









6. เขียนวัตถุประสงค์การวิจัยอย่างถูกต้อง









7. เขียนเป้าหมายการวิจัยได้อย่างถูกต้อง









ขั้นที่ 3 การศึกษาแนวทางปฏิบัติเพื่อกำหนดทางเลือก









8. การศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฏี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ให้ตรงกับเรื่องที่จะทำวิจัยชั้นเรียน









9. การเขียนอธิบายการนำแนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนที่จะทำอย่างมีเหตุผล









ขั้นที่ 4 การวางแผนการวิจัย









10. ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการวิจัยในชั้นเรียน









11. การเขียนแผนการวิจัยให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนปกติ









12. การกำหนดประชากรที่จะศึกษา









13. ความเข้าใจที่ถูกต้องในการสร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหาหรือปรับพฤติกรรมของนักศึกษา









14. การสร้างนวัตกรรมในการแก้ปัญหา









การทำวิจัยในชั้นเรียน
สภาพปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียน

ความคาดหวังในการทำวิจัย
มากที่สุด
มาก
น้อย
ไม่มีปัญหา

มากที่สุด
มาก
น้อย
ไม่ต้องการพัฒนา
15. การสร้างเครื่องมือที่ถูกต้องในการเก็บรวบรวมข้อมูล









16. การเลือกเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สอดคล้องกับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน









17. การกำหนดแผนการดำเนินการได้อย่างเหมาะสม









18.การวางแผนในการใช้นวัตกรรมในการวิจัย
ในชั้นเรียน









19. การออกแบบวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล









20. ความรู้เกี่ยวกับการใช้สถิติในการวิจัย









21. การเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล









ขั้นที่ 5 การปฏิบัติตามแผนและเก็บรวมรวมข้อมูล









22. การควบคุมเวลาในการทำวิจัยตรงตามแผนที่วางไว้









23. ความถูกต้องของผลการวิจัยตามสภาพจริง
ในการรวบรวมข้อมูล









24. ความถูกต้องในการบันทึกผลหลังการสอน









ขั้นที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูล









25. ความถูกต้องในการใช้สถิติอธิบายผลการวิจัย









26. ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์









27.ความสามารถในการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล









ขั้นที่ 7 การสะท้อนผล









28. ความถูกต้องในการนำผลการวิจัยที่ได้เทียบกับเป้าหมายการวิจัยที่ตั้งไว้









29. การปรับแผนการดำเนินใหม่กรณีที่ผลการวิจัยไม่บรรลุเป้าหมาย









ขั้นที่ 8 สรุปผลและการเขียนรายงานการวิจัย









30. ความถูกต้องในการสรุปผลการวิจัย









31. ความถูกต้องในการเขียนรายงานการวิจัย









32. การเขียนข้อเสนอแนะในการวิจัย









การทำวิจัยในชั้นเรียน
สภาพปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียน

ความคาดหวังในการทำวิจัย
มากที่สุด
มาก
น้อย
ไม่มีปัญหา

มากที่สุด
มาก
น้อย
ไม่ต้องการพัฒนา
ขั้นที่ 9 การแลกเปลี่ยนข้อค้นพบกับผู้อื่นหรือเผยแพร่ผลงาน









33.การการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยในชั้นเรียนจากผู้บริหาร









34.การสนับสนุนผลงานวิจัยในชั้นเรียนให้เป็นผลงานทางวิชาการ









35. นโยบายความร่วมมือของผู้บริหารกับท่านในการทำวิจัยในชั้นเรียน









36. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเรื่องผลงานวิจัยในชั้นเรียนภายในสถาบันและนอกสถาบัน









37.การสนับสนุนให้เข้าสัมมนาด้านการวิจัยในชั้นเรียน









38. การนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน










ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและความคาดหวังในการทำวิจัยในชั้นเรียน (อื่น ๆ โปรดระบุ)...........
..............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................




*****ขอขอบคุณที่กรุณาตอบแบบสอบถาม*****